Post by ❀ Senjumaru ❀ on Aug 19, 2018 14:38:10 GMT
นิยายรับสมัครตัวละคร
บทความนี้จะว่าด้วยเรื่องของ "นิยายรับสมัครตัวละคร" แอดมินจะพยายามเขียนเนื้อหาให้ครอบคลุมมากที่สุด
เนื่องจากเป็นผู้ที่คลุกคลีกับนิยายประเภทนี้มาพอสมควร ทั้งเขียนจบบ้าง ไม่จบบ้าง ดองบ้าง ทิ้งบ้าง
จึงอยากจะแชร์ประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อนิยายประเภทนี้ให้ทุกคนได้ลองอ่านเล่ยฆ่าเวลากันนะคะ
1. การรับสมัครตัวละคร คืออะไร
พูดกันง่ายๆ มันก็คือการที่ผู้เขียนเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในนิยาย
ด้วยการให้ผู้อ่านสร้างตัวละครเข้ามามีบทบาทในเรื่องที่ผู้เขียนกำลังจะลงมือเขียน หรือ กำลังเขียนอยู่นั้น
โดยผู้เขียนจะกำหนดเงื่อนไขในการสมัครเอาไว้ และนำตัวละครที่ผู้อ่านส่งเข้ามาตามเงื่อนไขไปใช้ในเรื่อง
2. รับสมัครตัวละคร เพื่ออะไร
คำถามนี้มีคำตอบง่ายๆ มันเป็นกุศโลบาย "เพื่อเรียกคนมาอ่านนิยายที่ตัวเองเขียน"
เป็นการแก้ปัญหาง่ายๆสำหรับผู้เขียนที่อยากให้มีผู้อ่าน เพราะอย่างน้อย
ผู้อ่านที่สมัครตัวละครต้องอยากรู้ว่าตัวละครของตัวเองจะถูกผู้เขียนนำไปใช้อย่างไร
จะได้รับบทดีๆ หรือถูกผู้เขียนนำไปกระทำปู้ยี่ปู่ยำ หรือจืดจางหายไปในความมืด
ไม่เหมือนการเขียนนิยายเองทั้งหมด ซึ่งจะต้องเขียนดีจริงๆ น่าสนใจจริงๆ จึงจะมีผู้อ่านมาติดตาม
แต่ก็มีเหตุผลพิเศษเพิ่มเติมบางประการสำหรับผู้เขียนบางคนที่เลือกใช้วิธีรับสมัครตัวละครด้วย
ผู้เขียนบางคนต้องการท้าทายตัวเอง ในการปรับแต่งการเดินเรื่องของตนให้มีสีสรรค์
ด้วยการใช้ตัวละครที่ไม่ค่อยตรงตาม spec ที่วางไว้ มาใช้ในเรื่อง ซึ่งจะเป็นต้องมีการปรับบทบาท
ปรับการดำเนินเรื่องบางส่วนให้แตกต่างไปจากที่ออกแบบไว้ในตอนแรก
โดยไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลุดกรอบที่วางไว้ มีเนื้อเรื่องที่เป็นเอกภาพ ราบรื่น สมเหตุผล
3. ข้อดีของการรับสมัครตัวละคร
(1) แน่นอนว่าประการแรกคืออย่างน้อยก็มีผู้อ่านที่คอยติดตามตัวละครของตัวเอง
(2) ได้ตัวละครแปลกๆ มิติตัวละครที่ผู้เขียนไม่เคยคิดถึงมาก่อน เพราะตัวละครที่ได้รับมา
มันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์จากคนหลายๆ คน ไม่ใช่จากผู้เขียนเพียงคนเดียว
(3) ได้ประเด็นการเขียนใหม่ๆ นำไปใส่ในเนื้อเรื่องจากประวัติตัวละครบางตัว
(4) ได้ประสบการณ์ในการคิดดัดแปลงการดำเนินเรื่อง การหาเหตุผลมาสนับสนุน
การกระทำของตัวละครที่ต้องใช้ความคิดมากกว่าเดิม จากที่ใช้ความคิดแค่มิติเดียว
เพื่อให้ตัวละครตัวที่ไม่ตรงตาม spec นั้นได้ดำเนินเรื่องตามที่ผู้เขียนวางไว้ตั้งแต่แรก
4. ข้อเสียของการรับสมัครตัวละคร
(1) การได้ตัวละครที่ไม่ตรงตาม spec ที่วางไว้ ไม่ว่าจะทั้งประวัติ หรือนิสัยของตัวละคร
ทำให้การเขียนให้เป็นไปตามที่ตั้งใจแต่แรก นั้น ทำได้ไม่สมบูรณ์ หรือไม่สมเหตุสมผล
หรือตัวละครบางตัว ทำให้ผู้เขียนได้ไอเดียใหม่ๆ ก็จริง แต่มันส่งผลให้ผู้เขียนดำเนินเรื่องผิดเพี้ยน
ไม่ดำเนินตามพล็อตที่วางไว้ ผลสุดท้ายผู้เขียนจะไม่ได้ตอนจบอย่างที่ต้องการ หรือเขียนไม่จบเลยก็ได้
(2) ตัวละครบางตัวก็หลุดโลกชนิดที่เรียกว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่เขียนเอาไว้เลย
(3) บางครั้งตัวละครที่ได้รับ กลับมีบุคลิกนิสัยและประวัติคล้ายคลึงกันเอง
ส่งผลให้เกิดตัวละครที่เป็นร่างเงาในเรื่อง บทบาททับซ้อนกันจนแทบจะรวมร่างกันได้
ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาเป็น 2 ตัวละครเลยด้วยซ้ำไป
(4) การกระจายบทบาทตัวละครที่ไม่มีสมดุลย์ หากกระจายบทบาทไม่ทั่วถึง
จะทำให้ตัวละครบางตัวหายไปจากเรื่อง หรือให้บทบางตัวมากเกินไปก็ไปบดบังตัวละครหลัก
หากกระจายบทบาทตัวละครมากจนเกินไป จะทำให้ดูไม่ออกว่าตัวละครใดเป็นตัวละครหลัก
แถมยังอาจทำให้การเดินเรื่องยืดเยื้อ เพราะมัวไปโฟกัสการสร้างจุดเด่นให้ทุกตัวละครอีกด้วย
(5) ความเกรงใจผู้อ่าน หากเป็นนิยายที่ไม่รับสมัครตัวละคร ผู้เขียนจะดันตัวละครไหน
หรือจะปล่อยให้ตัวละครใดหลุดวงโคจรของเรื่อง เป็นสิ่งที่ทำง่ายเพียงดีดนิ้ว แต่หากนิยายรับสมัครตัวละคร
ผู้เขียนบางคนอาจเกิดความเกรงใจผู้อ่าน ทำให้บทบาทของตัวละครบางตัวที่วางไว้ก่อนมีการรับสมัคร
มีน้อยมาก หรือหลุดออกจากเนื้อเรื่องตั้งแต่ตอนต้นๆ หรือกลางๆ เรื่อง แต่พอได้รับตัวละครมา
กลับไม่กล้าจะทำเช่นนั้น กลับเขียนให้ตัวละครที่เดิมทีแทบไม่มีบทบาท กลายเป็นมีบทบาทขึ้นมา
ส่งผลกระทบต่อการดำเนินเรื่องในระยะยาว ร้ายแรงอาจถึงขั้นเขียนไม่จบเลยก็เป็นได้
5. นิยายรับสมัครตัวละครมักเขียนไม่จบ!!
เป็นมุมมองที่ไม่อาจปฏิเสธได้เมื่อพิจารณาจากข้อเสียที่นิยายประเภทนี้มี
ตัวละครแทบทุกตัวที่ไม่ตรงตาม Spec พร้อมจะส่งเนื้อเรื่องให้กางใบเรือออกทะเลได้เสมอ
ประกอบกับผู้เขียนที่เลือกเปิดรับสมัครตัวละครส่วนมากเป็นนักเขียนมือใหม่ที่ขาดประสบการณ์
แทบจะไม่มีการวางโครงเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบเลยด้วยซ้ำไป
การเขียนนิยายโดยไม่มีการวางโครงเรื่องตั้งแต่ต้นยันจบเอาไว้ก่อน นั้น
ผู้เขียนอาจจะทำได้ไม่ยากหากไม่มีเปิดรับสมัครตัวละคร เพราะจะวางบทบาทตัวละครอย่างไรก็ได้
แต่หากเป็นนิยายรับสมัครตัวละคร ผู้เขียนไม่ใช่คนกำหนดนิสัยตัวละครเองทั้งหมด
การกระทำโดยอิงประวัตินิสัยของตัวละครบางตัว อยากทำให้เนื้อเรื่องผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หรือหากไม่มีเหตุผลมารองรับการกระทำของตัวละครบางตัวเพื่อให้เป็นไปตามพล็อต
จะทำให้การดำเนินเรื่อง หรือการกระทำของตัวละครนั้นดูไม่สมเหตุสมผล
เมื่อทุกอย่างไม่เข้าที่ หรือไม่เป็นไปตามที่วางไว้ แม้กระทั่งหมดความอยากในการเขียนต่อ
ผู้เขียนมือใหม่ย่อมเลือกที่จะดองงาน หรือแม้กระทั่งทิ้งงานนั้นไปเลยก็ได้
6. การแก้ปัญหาการเขียนนิยายรับสมัครตัวละคร
(1) หากต้องการเขียนนิยายแบบรับสมัครตัวละครให้ประสบความสำเร็จ
ผู้เขียนควรสร้างพล็อตเรื่องทั้งหมดตั้งแต่ต้นยันจบ และวางบทบาทตัวละครไว้คร่าวๆ
ออกแบบตัวละครที่ต้องการในแต่ละบทบาท ก่อนที่จะเปิดรับสมัครตัวละคร
เพื่อนำบทบาทคร่าวๆ ดังกล่าวไปแจกจ่ายให้ตัวละครที่ใกล้เคียงที่สุด
(2) พยายามทบทวนพล็อตที่วางไว้หลายๆ รอบเพื่อหาจุดบอดของพล็อต
หรือการดำเนินเรื่องของตัวละครที่ดูไม่สมเหตุสมผล เพื่อปรับแก้ไข ก่อนที่จะลงมือเขียน
สำหรับผู้เขียนที่มีประสบการณ์นั้น จะรู้ดีว่าข้อดีเป็นข้อที่ทำได้ยาก และพึงระวังให้มาก
เพราะการแก้เนื้อเรื่องเพียงตอนเดียว จะส่งผลกระทบต่อตอนต่อๆ ไปอย่างแน่นอน
(3) ตัวละครทุกตัวควรมีบทบาทของตัวเอง แต่ไม่จำเป็นต้องมีบทบาทเท่าเทียมกัน
ผู้เขียนต้องคำนึงถึงบทบาทของตัวละครหลักมาเป็นลำดับแรก แต่ต้องไม่ลืมบทตัวประกอบ
ผู้เขียนควรเลือกส่งบทบาทที่มีผลต่อเนื้อเรื่องไปให้ตัวละครที่ได้รับสมัครเข้ามาทุกๆ ตัว
ถึงแม้จะไม่ใช่บทบาทที่ดูโดดเด่นหรือมากมายมหาศาลอย่างเช่นบทบาทที่ตัวละครนำได้รับ
แต่เมื่อการกระทำของทุกตัวละครมีผลต่อเนื้อเรื่อง ตัวละครนั้นก็จะมีความสำคัญในตัวของมันเอง
(4) ไม่มีผู้อ่านคนใดอยากให้ตัวละครของตัวเองถูก Nerf หรือถูกดัดแปลงนิสัย ประวัติ
แต่ผู้เขียนจำเป็นต้องทำบ้าง หากตัวละครที่ได้รับนั้นทำให้การดำเนินเรื่องเกิดปัญหา
(5) ต้องตัดความเกรงใจผู้อ่านทิ้งไป หากตัวละครที่สมัครเข้ามานั้นใช้การไม่ได้
อย่าพยายามฝืนรับเข้ามาในพล็อตเรื่อง เพราะจะทำให้การดำเนินเรื่องประสบปัญหา
หากไม่เสนอให้ผู้อ่านนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวละคร ก็ปฏิเสธไม่รับตัวละครนั้นไปเลย
(6) เพิ่มความพยายาม ความอุสาหะในการเขียน และพยายามเขียนให้จบ
ตามพล็อตเรื่องที่วางไว้ ยิ่งเขียนนิยายจบมากเท่าไร จะได้ประสบการณ์มากเท่านั้น
ประสบการณ์จะช่วยแก้ไขปัญหาที่มีมาทั้งหมดตั้งแต่ (1) ไปจนถึง (5) ข้างต้น
ปล. เพื่อนๆ คนใดมีความคิดเห็นอย่างไรเพิ่มเติม มาแชร์กันได้เสมอนะคะ
บทความนี้จะว่าด้วยเรื่องของ "นิยายรับสมัครตัวละคร" แอดมินจะพยายามเขียนเนื้อหาให้ครอบคลุมมากที่สุด
เนื่องจากเป็นผู้ที่คลุกคลีกับนิยายประเภทนี้มาพอสมควร ทั้งเขียนจบบ้าง ไม่จบบ้าง ดองบ้าง ทิ้งบ้าง
จึงอยากจะแชร์ประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อนิยายประเภทนี้ให้ทุกคนได้ลองอ่านเล่ยฆ่าเวลากันนะคะ
1. การรับสมัครตัวละคร คืออะไร
พูดกันง่ายๆ มันก็คือการที่ผู้เขียนเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในนิยาย
ด้วยการให้ผู้อ่านสร้างตัวละครเข้ามามีบทบาทในเรื่องที่ผู้เขียนกำลังจะลงมือเขียน หรือ กำลังเขียนอยู่นั้น
โดยผู้เขียนจะกำหนดเงื่อนไขในการสมัครเอาไว้ และนำตัวละครที่ผู้อ่านส่งเข้ามาตามเงื่อนไขไปใช้ในเรื่อง
2. รับสมัครตัวละคร เพื่ออะไร
คำถามนี้มีคำตอบง่ายๆ มันเป็นกุศโลบาย "เพื่อเรียกคนมาอ่านนิยายที่ตัวเองเขียน"
เป็นการแก้ปัญหาง่ายๆสำหรับผู้เขียนที่อยากให้มีผู้อ่าน เพราะอย่างน้อย
ผู้อ่านที่สมัครตัวละครต้องอยากรู้ว่าตัวละครของตัวเองจะถูกผู้เขียนนำไปใช้อย่างไร
จะได้รับบทดีๆ หรือถูกผู้เขียนนำไปกระทำปู้ยี่ปู่ยำ หรือจืดจางหายไปในความมืด
ไม่เหมือนการเขียนนิยายเองทั้งหมด ซึ่งจะต้องเขียนดีจริงๆ น่าสนใจจริงๆ จึงจะมีผู้อ่านมาติดตาม
แต่ก็มีเหตุผลพิเศษเพิ่มเติมบางประการสำหรับผู้เขียนบางคนที่เลือกใช้วิธีรับสมัครตัวละครด้วย
ผู้เขียนบางคนต้องการท้าทายตัวเอง ในการปรับแต่งการเดินเรื่องของตนให้มีสีสรรค์
ด้วยการใช้ตัวละครที่ไม่ค่อยตรงตาม spec ที่วางไว้ มาใช้ในเรื่อง ซึ่งจะเป็นต้องมีการปรับบทบาท
ปรับการดำเนินเรื่องบางส่วนให้แตกต่างไปจากที่ออกแบบไว้ในตอนแรก
โดยไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลุดกรอบที่วางไว้ มีเนื้อเรื่องที่เป็นเอกภาพ ราบรื่น สมเหตุผล
3. ข้อดีของการรับสมัครตัวละคร
(1) แน่นอนว่าประการแรกคืออย่างน้อยก็มีผู้อ่านที่คอยติดตามตัวละครของตัวเอง
(2) ได้ตัวละครแปลกๆ มิติตัวละครที่ผู้เขียนไม่เคยคิดถึงมาก่อน เพราะตัวละครที่ได้รับมา
มันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์จากคนหลายๆ คน ไม่ใช่จากผู้เขียนเพียงคนเดียว
(3) ได้ประเด็นการเขียนใหม่ๆ นำไปใส่ในเนื้อเรื่องจากประวัติตัวละครบางตัว
(4) ได้ประสบการณ์ในการคิดดัดแปลงการดำเนินเรื่อง การหาเหตุผลมาสนับสนุน
การกระทำของตัวละครที่ต้องใช้ความคิดมากกว่าเดิม จากที่ใช้ความคิดแค่มิติเดียว
เพื่อให้ตัวละครตัวที่ไม่ตรงตาม spec นั้นได้ดำเนินเรื่องตามที่ผู้เขียนวางไว้ตั้งแต่แรก
4. ข้อเสียของการรับสมัครตัวละคร
(1) การได้ตัวละครที่ไม่ตรงตาม spec ที่วางไว้ ไม่ว่าจะทั้งประวัติ หรือนิสัยของตัวละคร
ทำให้การเขียนให้เป็นไปตามที่ตั้งใจแต่แรก นั้น ทำได้ไม่สมบูรณ์ หรือไม่สมเหตุสมผล
หรือตัวละครบางตัว ทำให้ผู้เขียนได้ไอเดียใหม่ๆ ก็จริง แต่มันส่งผลให้ผู้เขียนดำเนินเรื่องผิดเพี้ยน
ไม่ดำเนินตามพล็อตที่วางไว้ ผลสุดท้ายผู้เขียนจะไม่ได้ตอนจบอย่างที่ต้องการ หรือเขียนไม่จบเลยก็ได้
(2) ตัวละครบางตัวก็หลุดโลกชนิดที่เรียกว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่เขียนเอาไว้เลย
(3) บางครั้งตัวละครที่ได้รับ กลับมีบุคลิกนิสัยและประวัติคล้ายคลึงกันเอง
ส่งผลให้เกิดตัวละครที่เป็นร่างเงาในเรื่อง บทบาททับซ้อนกันจนแทบจะรวมร่างกันได้
ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาเป็น 2 ตัวละครเลยด้วยซ้ำไป
(4) การกระจายบทบาทตัวละครที่ไม่มีสมดุลย์ หากกระจายบทบาทไม่ทั่วถึง
จะทำให้ตัวละครบางตัวหายไปจากเรื่อง หรือให้บทบางตัวมากเกินไปก็ไปบดบังตัวละครหลัก
หากกระจายบทบาทตัวละครมากจนเกินไป จะทำให้ดูไม่ออกว่าตัวละครใดเป็นตัวละครหลัก
แถมยังอาจทำให้การเดินเรื่องยืดเยื้อ เพราะมัวไปโฟกัสการสร้างจุดเด่นให้ทุกตัวละครอีกด้วย
(5) ความเกรงใจผู้อ่าน หากเป็นนิยายที่ไม่รับสมัครตัวละคร ผู้เขียนจะดันตัวละครไหน
หรือจะปล่อยให้ตัวละครใดหลุดวงโคจรของเรื่อง เป็นสิ่งที่ทำง่ายเพียงดีดนิ้ว แต่หากนิยายรับสมัครตัวละคร
ผู้เขียนบางคนอาจเกิดความเกรงใจผู้อ่าน ทำให้บทบาทของตัวละครบางตัวที่วางไว้ก่อนมีการรับสมัคร
มีน้อยมาก หรือหลุดออกจากเนื้อเรื่องตั้งแต่ตอนต้นๆ หรือกลางๆ เรื่อง แต่พอได้รับตัวละครมา
กลับไม่กล้าจะทำเช่นนั้น กลับเขียนให้ตัวละครที่เดิมทีแทบไม่มีบทบาท กลายเป็นมีบทบาทขึ้นมา
ส่งผลกระทบต่อการดำเนินเรื่องในระยะยาว ร้ายแรงอาจถึงขั้นเขียนไม่จบเลยก็เป็นได้
5. นิยายรับสมัครตัวละครมักเขียนไม่จบ!!
เป็นมุมมองที่ไม่อาจปฏิเสธได้เมื่อพิจารณาจากข้อเสียที่นิยายประเภทนี้มี
ตัวละครแทบทุกตัวที่ไม่ตรงตาม Spec พร้อมจะส่งเนื้อเรื่องให้กางใบเรือออกทะเลได้เสมอ
ประกอบกับผู้เขียนที่เลือกเปิดรับสมัครตัวละครส่วนมากเป็นนักเขียนมือใหม่ที่ขาดประสบการณ์
แทบจะไม่มีการวางโครงเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบเลยด้วยซ้ำไป
การเขียนนิยายโดยไม่มีการวางโครงเรื่องตั้งแต่ต้นยันจบเอาไว้ก่อน นั้น
ผู้เขียนอาจจะทำได้ไม่ยากหากไม่มีเปิดรับสมัครตัวละคร เพราะจะวางบทบาทตัวละครอย่างไรก็ได้
แต่หากเป็นนิยายรับสมัครตัวละคร ผู้เขียนไม่ใช่คนกำหนดนิสัยตัวละครเองทั้งหมด
การกระทำโดยอิงประวัตินิสัยของตัวละครบางตัว อยากทำให้เนื้อเรื่องผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หรือหากไม่มีเหตุผลมารองรับการกระทำของตัวละครบางตัวเพื่อให้เป็นไปตามพล็อต
จะทำให้การดำเนินเรื่อง หรือการกระทำของตัวละครนั้นดูไม่สมเหตุสมผล
เมื่อทุกอย่างไม่เข้าที่ หรือไม่เป็นไปตามที่วางไว้ แม้กระทั่งหมดความอยากในการเขียนต่อ
ผู้เขียนมือใหม่ย่อมเลือกที่จะดองงาน หรือแม้กระทั่งทิ้งงานนั้นไปเลยก็ได้
6. การแก้ปัญหาการเขียนนิยายรับสมัครตัวละคร
(1) หากต้องการเขียนนิยายแบบรับสมัครตัวละครให้ประสบความสำเร็จ
ผู้เขียนควรสร้างพล็อตเรื่องทั้งหมดตั้งแต่ต้นยันจบ และวางบทบาทตัวละครไว้คร่าวๆ
ออกแบบตัวละครที่ต้องการในแต่ละบทบาท ก่อนที่จะเปิดรับสมัครตัวละคร
เพื่อนำบทบาทคร่าวๆ ดังกล่าวไปแจกจ่ายให้ตัวละครที่ใกล้เคียงที่สุด
(2) พยายามทบทวนพล็อตที่วางไว้หลายๆ รอบเพื่อหาจุดบอดของพล็อต
หรือการดำเนินเรื่องของตัวละครที่ดูไม่สมเหตุสมผล เพื่อปรับแก้ไข ก่อนที่จะลงมือเขียน
สำหรับผู้เขียนที่มีประสบการณ์นั้น จะรู้ดีว่าข้อดีเป็นข้อที่ทำได้ยาก และพึงระวังให้มาก
เพราะการแก้เนื้อเรื่องเพียงตอนเดียว จะส่งผลกระทบต่อตอนต่อๆ ไปอย่างแน่นอน
(3) ตัวละครทุกตัวควรมีบทบาทของตัวเอง แต่ไม่จำเป็นต้องมีบทบาทเท่าเทียมกัน
ผู้เขียนต้องคำนึงถึงบทบาทของตัวละครหลักมาเป็นลำดับแรก แต่ต้องไม่ลืมบทตัวประกอบ
ผู้เขียนควรเลือกส่งบทบาทที่มีผลต่อเนื้อเรื่องไปให้ตัวละครที่ได้รับสมัครเข้ามาทุกๆ ตัว
ถึงแม้จะไม่ใช่บทบาทที่ดูโดดเด่นหรือมากมายมหาศาลอย่างเช่นบทบาทที่ตัวละครนำได้รับ
แต่เมื่อการกระทำของทุกตัวละครมีผลต่อเนื้อเรื่อง ตัวละครนั้นก็จะมีความสำคัญในตัวของมันเอง
(4) ไม่มีผู้อ่านคนใดอยากให้ตัวละครของตัวเองถูก Nerf หรือถูกดัดแปลงนิสัย ประวัติ
แต่ผู้เขียนจำเป็นต้องทำบ้าง หากตัวละครที่ได้รับนั้นทำให้การดำเนินเรื่องเกิดปัญหา
(5) ต้องตัดความเกรงใจผู้อ่านทิ้งไป หากตัวละครที่สมัครเข้ามานั้นใช้การไม่ได้
อย่าพยายามฝืนรับเข้ามาในพล็อตเรื่อง เพราะจะทำให้การดำเนินเรื่องประสบปัญหา
หากไม่เสนอให้ผู้อ่านนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวละคร ก็ปฏิเสธไม่รับตัวละครนั้นไปเลย
(6) เพิ่มความพยายาม ความอุสาหะในการเขียน และพยายามเขียนให้จบ
ตามพล็อตเรื่องที่วางไว้ ยิ่งเขียนนิยายจบมากเท่าไร จะได้ประสบการณ์มากเท่านั้น
ประสบการณ์จะช่วยแก้ไขปัญหาที่มีมาทั้งหมดตั้งแต่ (1) ไปจนถึง (5) ข้างต้น
ปล. เพื่อนๆ คนใดมีความคิดเห็นอย่างไรเพิ่มเติม มาแชร์กันได้เสมอนะคะ
By Senjumaru