Post by Deleted on Jul 16, 2018 15:23:56 GMT
4 ไอเดียจบบท ช่วยให้นักอ่านอยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
สวัสดีค่ะชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน บท (Chapter) นับว่าเป็นส่วนสำคัญมากๆ ในนิยายเพราะมันเป็นสิ่งที่ร้อยเรียงเนื้อหาให้ดำเนินไปจนจบเรื่อง พี่น้ำผึ้งคิดว่าบทของหนังสือที่ดีก็เหมือนกับแผนที่สมบัติแย่ๆ นั่นแหละ มันจะเย้ายวนเราให้ออกตามหาขุมทรัพย์ พาเราเดินทางไปสู่ดินแดนที่ไม่มีใครสังเกตเห็น แต่ในตอนท้ายกลับไม่ได้สมบัตินั้นมา! เพราะเจ้าแผนที่ดันหลอกล่อให้เราต้องค้นหาสมบัติกันต่อไป ใช่ค่ะ เวลาเขียนฉากจบของบทในนิยายก็มีไอเดียประมาณนี้เช่นกัน
องค์ประกอบของแต่ละบทในนิยายประกอบด้วยอะไรบ้าง?
น้องๆ คะ นิยายหนึ่งเรื่องประกอบด้วยบท (Chapter) หลายๆ บทรวมกัน ซึ่งแต่ละบทนั้นสำคัญมากๆ เพราะมันจะเป็นตัวที่ทำให้นักอ่านตัดสินเลยว่าจะอ่านนิยายเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ คำถามก็คือ แล้วในแต่ละบทต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างล่ะ?
ถ้าตามทฤษฎีแล้ว นิยายแต่ละตอนก็ควรจะประกอบด้วยเหตุการณ์ ตัวละครและเส้นเรื่องที่ทำให้นิยายสามารถดำเนินไปจนจบได้ โดยย่อหน้าแรกในบทมักจะเป็นช่วงเกริ่นๆ ส่วนกลางมักเกี่ยวข้องกับความคืบหน้าของเรื่องโดยรวม ซึ่งบทหรือตอนที่ดีนั้นควรสามารถต่อยอดเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องหรือทำให้ตัวละครของเรามีการพัฒนาต่อไป อีกทั้งจะต้องช่วยให้เรื่องของเรามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในบทนิยายของเรา เห็นทีคงจะไม่พ้นฉากจบนั่นแหละค่ะ เราควรบอกใบ้นักอ่านสักนิดหน่อยว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเป็นยังไงเพื่อให้นักอ่านได้ลุ้นวนไป แต่ปัญหาก็คือ...เราไม่รู้ว่าเราควรจะขมวดจบแบบไหนให้น่าสนใจน่ะสิ เราควรจะทิ้งท้ายแบบปกติ หรือทิ้งท้ายแบบให้ต้องคอยลุ้นต่อไปเหมือนอย่าง The Da Vinci Code แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับตัวนักเขียนค่ะ
บทถัดไปที่พบได้บ่อย
ตอนถัดไปมักเปลี่ยนฉากหรือสถานที่ใหม่
ตอนถัดไปเปลี่ยนช่วงเวลาใหม่
ตอนถัดไปเปลี่ยนการโฟกัสของตัวละครหรือความขัดแย้ง
ตอนถัดไปต้องเปลี่ยนเส้นเรื่อง
ตอนถัดไปเปลี่ยนมุมมองผู้บรรยาย
เห็นไหมว่าแต่ละข้อมีอะไรที่เหมือนกัน มันคือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปในตอนใหม่ไงล่ะ ประเด็นก็คือนักเขียนรู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้นในตอนถัดไป แต่นักอ่านไม่รู้ไปกับเราด้วยไง ดังนั้นบทที่ดีควรทำยังไงก็ได้เพื่อให้ดึงนักอ่านเข้ามามีส่วนร่วมในหนังสือ และฉากจบบทที่ดีไม่ควรทิ้งอะไรไว้เยอะแยะ ตรงกันข้ามควรทิ้งท้ายด้วยสิ่งที่ทำให้นักอ่านรู้สึกว่ายังมีความหวัง รู้สึกวิตกกังวล หรือไม่ก็รู้สึกกลัวต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การทิ้งเด็กๆ ที่จะไปค่ายซัมเมอร์ไว้บนรถบัสจะมีความน่าสนใจมากขึ้นเมื่อเราบอกใบ้นักอ่านด้วยการใส่ประโยคหรือสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาเริ่มมีลางสังหรณ์แย่ๆ ประมาณว่าพ่อแม่เด็กโบกมือให้ลูกๆ อย่างเศร้าใจ ราวกับว่าเหมือนส่งลูกไปตายอะไรประมาณนั้น แค่นี้นักอ่านก็รู้สึกสงสัยแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น
4 ไอเดียเพื่อฉากจบบทที่ดี
หักมุม
หักมุมเป็นอะไรที่เบสิกที่สุดในโลกแล้ว แต่มันก็ใช้ได้เรื่อยๆ นะ ทำให้นักอ่านตกใจได้ตลอดเวลา ลองดูตัวอย่างง่ายๆ จากนิยายเรื่อง Pride and Prejudice ของเจน ออสเตน หลังจากที่ 10 บทแรกของหนังสือทำให้เราเห็นว่าอลิซาเบธ เบ็นเน็ตเป็นคนฉลาดและมิสเตอร์ดาร์ซี่เป็นคนเย่อหยิ่งมากๆ แต่แล้วเราก็ตกใจสุดๆ เมื่อเห็นมิสเตอร์ดาร์ซี่ปรากฏตัวในห้องส่วนตัวของอลิซาเบธและขอเธอแต่งงาน! เขาทำเช่นนั้นจริงๆ แถมยังบอกอีกว่า แม้เธอจะมีฐานะด้อยกว่า แม้ครอบครัวของเขาจะเป็นอุปสรรค แม้เธอจะมีภาระที่ผูกพัน และแม้ว่าเขาจะเป็นตัวขัดขวางความรักระหว่างบิงลี่กับน้องสาวของเธอ แต่เขาก็ยืนยันที่จะแต่งงานกับเธอ แน่นอนว่าในตอนท้ายของบทนี้...อลิซาเบธปฏิเสธดาร์ซี่
เป็นไงหักมุมไหมล่ะ? แบบนี้ก็ชวนให้นักอ่านอยากตามต่อไปว่าทำไมเธอถึงปฏิเสธ ที่พีคยิ่งไปกว่านั้น นักอ่านก็คงอยากรู้ใจดาร์ซี่เหมือนกับที่อลิซาเบธอยากรู้นั่นแหละว่าไปตกหลุมรักเธอตอนไหน เพราะที่ผ่านมาก็ทำตัวเย่อหยิ่งและปากร้ายใส่เธอตลอดเวลา พฤติกรรมไม่น่ารักเลย
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
อลิซาเบธและดาร์ซี่
สร้างความขัดแย้ง
ในเรื่อง The Corrections โจนาธาน ฟรานเซนได้เขียนเรื่องราวของครอบครัวแลมเบิร์ต โดยมีธีมหลักของเรื่องว่า “แม่ต้องการให้ทุกคนกลับบ้านในช่วงคริสต์มาสก่อนที่พ่อจะตาย” ซึ่งแต่ละตอนของฟรานเซนมักจบลงด้วยเหตุการณ์ที่ผิดพลาด เหนือความคาดหมายและทำให้เกิดความขัดแย้งอยู่บ่อยๆ
ยกตัวอย่างเช่น แกรี่และแคโรไลน์ปรับความเข้าใจหลังจากทะเลาะกันเรื่องแม่ แล้วอยู่ๆ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น แกรี่และแคโรไลน์มองไปยังโทรศัพท์ก่อนพบว่าแม่โทรมาและบอกว่า “ตอนนี้แม่กับพ่ออยู่บนเรือกลางทะเลนะ” แล้วก็ตัดจบไป หลังจากนั้นก็คงเดาได้เลยว่าสิ่งที่เรียกว่า “หายนะ” จะเกิดขึ้น
สำหรับตัวอย่างนี้มีคอนเซปท์ที่ว่า หายทุกข์อยู่ดีๆ หายนะก็ดันเข้ามาให้ทุกข์อีก ซึ่งเทคนิคการหยิบหายนะเข้ามาช่วยเนี่ยแหละทำให้บทถัดไปของเราน่าอ่านค่ะ
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
(via: amazon)
เปลี่ยนซีน เปลี่ยนฉาก หรือเปลี่ยนมุมมองการบรรยาย
ในหนังสือ The Secret History ดอนน่า ทาร์ตมักทิ้งท้ายในแต่ละตอนด้วยบรรยากาศลึกลับเพื่อให้คนอ่านรู้สึกอยากคาดเดาต่อ ยกตัวอย่างเช่น ริชาร์ดพูดคุยกับชาร์ลส์ คามิลล่าและเฮนรี่เกี่ยวกับว่าใครอยู่ที่ไหนหลังจากเกิดเหตุฆาตกรรม ซึ่งทั้งสามก็บอกไปว่าออกจากหอพักและไปยังป่าเพื่อทำไร่ ก่อนที่ทาร์ตจะตัดจบบทด้วยเสียงล็อกห้องและข้อความที่ว่า “That’ll be Francis.”
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
(via: amazon)
เปลี่ยนช่วงเวลาหรือยุค
ใน Everything is Illuminated ของโจนาธาน ซาฟราน โฟร์ นิยายที่เกี่ยวกับการค้นหาตัวเอง แต่ละบทของเขาจบลงด้วยเงื่อนงำที่จะนำนักอ่านไปยังช่วงเวลาที่ต่างกันในแต่ละยุค ยกตัวอย่างเช่น หลังจากปู่แปรงฟันและไปนอนแล้ว หมาของเขาเองก็นอนด้วย แต่อเล็กซ์ตื่นขึ้นมาและฟังเสียงลมหายใจของปู่ อเล็กซ์รู้ดีว่าปู่ยังไม่หลับ ทั้งคู่ต่างกำลังคิดถึงคำถามเดียวกัน นั่นคือ “สิ่งที่ปู่ได้ทำในตอนสงคราม”
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
Everything is Illuminated
จะเห็นได้ว่านักเขียนแต่ละคนจบลงด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนรู้ดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ในบทถัดไปอลิซาเบธได้อ่านจดหมายของดาร์ซี่ที่อธิบายถึงพฤติกรรมแย่ๆ ที่เขาทำกับเธอ พ่อและแม่ของแกรี่กำลังเผชิญกับวิปโยคหายนะบนเรือ ฟรานซิสมาถึงและสงสัยเรื่องราวของชาร์ลส์ คามิลล่าและเฮนรี่ ส่วนอเล็กซ์และปู่ก็นึกถึงเหตุการณ์เดียวกันที่เป็นเรื่องราวก่อนหน้านี้เมื่อสองร้อยปีที่แล้วค่ะ
พูดง่ายๆ ก็คือตัวอย่างฉากจบที่ยกมานั้น จริงๆ แล้วต่อยอดมาจากคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ในเรื่องของเรา หรือเริ่มต้นด้วยเส้นเรื่องที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันก็มีการกระจายประเด็น ตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆ จากบทก่อนหน้านี้ด้วย
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเทคนิคที่พี่น้ำผึ้งนำมาฝากในวันนี้ กล่าวโดยสรุปก็คือบทนั้นสำคัญมากๆ มันคือเนื้อเรื่องนั่นแหละ เพราะฉะนั้นในแต่ละบทเราก็ควรทำให้มันเหมือนกับเป็นนิยายฉบับสั้นๆ ที่มีทั้งต้น กลาง จบ โดยเฉพาะตอนจบเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ น้องๆ ควรทิ้งท้ายให้ดึงดูดใจโดยสามารถหยิบ 4 เทคนิคที่ว่ามาใช้ได้เลย
นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว น้องๆ ใช้วิธีไหนมัดใจนักอ่านให้อยากอ่านบทถัดๆ ไปของเราคะ?
พี่น้ำผึ้ง
www.dek-d.com/writer/50037/
สวัสดีค่ะชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน บท (Chapter) นับว่าเป็นส่วนสำคัญมากๆ ในนิยายเพราะมันเป็นสิ่งที่ร้อยเรียงเนื้อหาให้ดำเนินไปจนจบเรื่อง พี่น้ำผึ้งคิดว่าบทของหนังสือที่ดีก็เหมือนกับแผนที่สมบัติแย่ๆ นั่นแหละ มันจะเย้ายวนเราให้ออกตามหาขุมทรัพย์ พาเราเดินทางไปสู่ดินแดนที่ไม่มีใครสังเกตเห็น แต่ในตอนท้ายกลับไม่ได้สมบัตินั้นมา! เพราะเจ้าแผนที่ดันหลอกล่อให้เราต้องค้นหาสมบัติกันต่อไป ใช่ค่ะ เวลาเขียนฉากจบของบทในนิยายก็มีไอเดียประมาณนี้เช่นกัน
องค์ประกอบของแต่ละบทในนิยายประกอบด้วยอะไรบ้าง?
น้องๆ คะ นิยายหนึ่งเรื่องประกอบด้วยบท (Chapter) หลายๆ บทรวมกัน ซึ่งแต่ละบทนั้นสำคัญมากๆ เพราะมันจะเป็นตัวที่ทำให้นักอ่านตัดสินเลยว่าจะอ่านนิยายเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ คำถามก็คือ แล้วในแต่ละบทต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างล่ะ?
ถ้าตามทฤษฎีแล้ว นิยายแต่ละตอนก็ควรจะประกอบด้วยเหตุการณ์ ตัวละครและเส้นเรื่องที่ทำให้นิยายสามารถดำเนินไปจนจบได้ โดยย่อหน้าแรกในบทมักจะเป็นช่วงเกริ่นๆ ส่วนกลางมักเกี่ยวข้องกับความคืบหน้าของเรื่องโดยรวม ซึ่งบทหรือตอนที่ดีนั้นควรสามารถต่อยอดเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องหรือทำให้ตัวละครของเรามีการพัฒนาต่อไป อีกทั้งจะต้องช่วยให้เรื่องของเรามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในบทนิยายของเรา เห็นทีคงจะไม่พ้นฉากจบนั่นแหละค่ะ เราควรบอกใบ้นักอ่านสักนิดหน่อยว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเป็นยังไงเพื่อให้นักอ่านได้ลุ้นวนไป แต่ปัญหาก็คือ...เราไม่รู้ว่าเราควรจะขมวดจบแบบไหนให้น่าสนใจน่ะสิ เราควรจะทิ้งท้ายแบบปกติ หรือทิ้งท้ายแบบให้ต้องคอยลุ้นต่อไปเหมือนอย่าง The Da Vinci Code แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับตัวนักเขียนค่ะ
บทถัดไปที่พบได้บ่อย
ตอนถัดไปมักเปลี่ยนฉากหรือสถานที่ใหม่
ตอนถัดไปเปลี่ยนช่วงเวลาใหม่
ตอนถัดไปเปลี่ยนการโฟกัสของตัวละครหรือความขัดแย้ง
ตอนถัดไปต้องเปลี่ยนเส้นเรื่อง
ตอนถัดไปเปลี่ยนมุมมองผู้บรรยาย
เห็นไหมว่าแต่ละข้อมีอะไรที่เหมือนกัน มันคือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปในตอนใหม่ไงล่ะ ประเด็นก็คือนักเขียนรู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้นในตอนถัดไป แต่นักอ่านไม่รู้ไปกับเราด้วยไง ดังนั้นบทที่ดีควรทำยังไงก็ได้เพื่อให้ดึงนักอ่านเข้ามามีส่วนร่วมในหนังสือ และฉากจบบทที่ดีไม่ควรทิ้งอะไรไว้เยอะแยะ ตรงกันข้ามควรทิ้งท้ายด้วยสิ่งที่ทำให้นักอ่านรู้สึกว่ายังมีความหวัง รู้สึกวิตกกังวล หรือไม่ก็รู้สึกกลัวต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การทิ้งเด็กๆ ที่จะไปค่ายซัมเมอร์ไว้บนรถบัสจะมีความน่าสนใจมากขึ้นเมื่อเราบอกใบ้นักอ่านด้วยการใส่ประโยคหรือสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาเริ่มมีลางสังหรณ์แย่ๆ ประมาณว่าพ่อแม่เด็กโบกมือให้ลูกๆ อย่างเศร้าใจ ราวกับว่าเหมือนส่งลูกไปตายอะไรประมาณนั้น แค่นี้นักอ่านก็รู้สึกสงสัยแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น
4 ไอเดียเพื่อฉากจบบทที่ดี
หักมุม
หักมุมเป็นอะไรที่เบสิกที่สุดในโลกแล้ว แต่มันก็ใช้ได้เรื่อยๆ นะ ทำให้นักอ่านตกใจได้ตลอดเวลา ลองดูตัวอย่างง่ายๆ จากนิยายเรื่อง Pride and Prejudice ของเจน ออสเตน หลังจากที่ 10 บทแรกของหนังสือทำให้เราเห็นว่าอลิซาเบธ เบ็นเน็ตเป็นคนฉลาดและมิสเตอร์ดาร์ซี่เป็นคนเย่อหยิ่งมากๆ แต่แล้วเราก็ตกใจสุดๆ เมื่อเห็นมิสเตอร์ดาร์ซี่ปรากฏตัวในห้องส่วนตัวของอลิซาเบธและขอเธอแต่งงาน! เขาทำเช่นนั้นจริงๆ แถมยังบอกอีกว่า แม้เธอจะมีฐานะด้อยกว่า แม้ครอบครัวของเขาจะเป็นอุปสรรค แม้เธอจะมีภาระที่ผูกพัน และแม้ว่าเขาจะเป็นตัวขัดขวางความรักระหว่างบิงลี่กับน้องสาวของเธอ แต่เขาก็ยืนยันที่จะแต่งงานกับเธอ แน่นอนว่าในตอนท้ายของบทนี้...อลิซาเบธปฏิเสธดาร์ซี่
เป็นไงหักมุมไหมล่ะ? แบบนี้ก็ชวนให้นักอ่านอยากตามต่อไปว่าทำไมเธอถึงปฏิเสธ ที่พีคยิ่งไปกว่านั้น นักอ่านก็คงอยากรู้ใจดาร์ซี่เหมือนกับที่อลิซาเบธอยากรู้นั่นแหละว่าไปตกหลุมรักเธอตอนไหน เพราะที่ผ่านมาก็ทำตัวเย่อหยิ่งและปากร้ายใส่เธอตลอดเวลา พฤติกรรมไม่น่ารักเลย
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
อลิซาเบธและดาร์ซี่
สร้างความขัดแย้ง
ในเรื่อง The Corrections โจนาธาน ฟรานเซนได้เขียนเรื่องราวของครอบครัวแลมเบิร์ต โดยมีธีมหลักของเรื่องว่า “แม่ต้องการให้ทุกคนกลับบ้านในช่วงคริสต์มาสก่อนที่พ่อจะตาย” ซึ่งแต่ละตอนของฟรานเซนมักจบลงด้วยเหตุการณ์ที่ผิดพลาด เหนือความคาดหมายและทำให้เกิดความขัดแย้งอยู่บ่อยๆ
ยกตัวอย่างเช่น แกรี่และแคโรไลน์ปรับความเข้าใจหลังจากทะเลาะกันเรื่องแม่ แล้วอยู่ๆ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น แกรี่และแคโรไลน์มองไปยังโทรศัพท์ก่อนพบว่าแม่โทรมาและบอกว่า “ตอนนี้แม่กับพ่ออยู่บนเรือกลางทะเลนะ” แล้วก็ตัดจบไป หลังจากนั้นก็คงเดาได้เลยว่าสิ่งที่เรียกว่า “หายนะ” จะเกิดขึ้น
สำหรับตัวอย่างนี้มีคอนเซปท์ที่ว่า หายทุกข์อยู่ดีๆ หายนะก็ดันเข้ามาให้ทุกข์อีก ซึ่งเทคนิคการหยิบหายนะเข้ามาช่วยเนี่ยแหละทำให้บทถัดไปของเราน่าอ่านค่ะ
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
(via: amazon)
เปลี่ยนซีน เปลี่ยนฉาก หรือเปลี่ยนมุมมองการบรรยาย
ในหนังสือ The Secret History ดอนน่า ทาร์ตมักทิ้งท้ายในแต่ละตอนด้วยบรรยากาศลึกลับเพื่อให้คนอ่านรู้สึกอยากคาดเดาต่อ ยกตัวอย่างเช่น ริชาร์ดพูดคุยกับชาร์ลส์ คามิลล่าและเฮนรี่เกี่ยวกับว่าใครอยู่ที่ไหนหลังจากเกิดเหตุฆาตกรรม ซึ่งทั้งสามก็บอกไปว่าออกจากหอพักและไปยังป่าเพื่อทำไร่ ก่อนที่ทาร์ตจะตัดจบบทด้วยเสียงล็อกห้องและข้อความที่ว่า “That’ll be Francis.”
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
(via: amazon)
เปลี่ยนช่วงเวลาหรือยุค
ใน Everything is Illuminated ของโจนาธาน ซาฟราน โฟร์ นิยายที่เกี่ยวกับการค้นหาตัวเอง แต่ละบทของเขาจบลงด้วยเงื่อนงำที่จะนำนักอ่านไปยังช่วงเวลาที่ต่างกันในแต่ละยุค ยกตัวอย่างเช่น หลังจากปู่แปรงฟันและไปนอนแล้ว หมาของเขาเองก็นอนด้วย แต่อเล็กซ์ตื่นขึ้นมาและฟังเสียงลมหายใจของปู่ อเล็กซ์รู้ดีว่าปู่ยังไม่หลับ ทั้งคู่ต่างกำลังคิดถึงคำถามเดียวกัน นั่นคือ “สิ่งที่ปู่ได้ทำในตอนสงคราม”
4 ไอเดียจบบท ช่วยดึงนักอ่านให้อยากรู้ตอนถัดไปจนดิ้นตาย!
Everything is Illuminated
จะเห็นได้ว่านักเขียนแต่ละคนจบลงด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนรู้ดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ในบทถัดไปอลิซาเบธได้อ่านจดหมายของดาร์ซี่ที่อธิบายถึงพฤติกรรมแย่ๆ ที่เขาทำกับเธอ พ่อและแม่ของแกรี่กำลังเผชิญกับวิปโยคหายนะบนเรือ ฟรานซิสมาถึงและสงสัยเรื่องราวของชาร์ลส์ คามิลล่าและเฮนรี่ ส่วนอเล็กซ์และปู่ก็นึกถึงเหตุการณ์เดียวกันที่เป็นเรื่องราวก่อนหน้านี้เมื่อสองร้อยปีที่แล้วค่ะ
พูดง่ายๆ ก็คือตัวอย่างฉากจบที่ยกมานั้น จริงๆ แล้วต่อยอดมาจากคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ในเรื่องของเรา หรือเริ่มต้นด้วยเส้นเรื่องที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันก็มีการกระจายประเด็น ตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆ จากบทก่อนหน้านี้ด้วย
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเทคนิคที่พี่น้ำผึ้งนำมาฝากในวันนี้ กล่าวโดยสรุปก็คือบทนั้นสำคัญมากๆ มันคือเนื้อเรื่องนั่นแหละ เพราะฉะนั้นในแต่ละบทเราก็ควรทำให้มันเหมือนกับเป็นนิยายฉบับสั้นๆ ที่มีทั้งต้น กลาง จบ โดยเฉพาะตอนจบเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ น้องๆ ควรทิ้งท้ายให้ดึงดูดใจโดยสามารถหยิบ 4 เทคนิคที่ว่ามาใช้ได้เลย
นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว น้องๆ ใช้วิธีไหนมัดใจนักอ่านให้อยากอ่านบทถัดๆ ไปของเราคะ?
พี่น้ำผึ้ง
www.dek-d.com/writer/50037/