Post by Deleted on Jul 22, 2018 13:41:44 GMT
5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครของเราออกจาก “เฟรนด์โซน”
สวัสดีค่ะนักเขียนชาวเด็กดีทุกคน นิยายแนวเพื่อนแอบรักเพื่อนเป็นอะไรที่คลาสสิกตลอดกาล เริ่มต้นจากมิตรภาพแบบเพื่อนก่อนจบลงที่เป็นคนรัก การเขียนนิยายแนวนี้จริงๆ มันก็ง่าย แค่วางพล็อต เซ็ตฉาก กำหนดตัวละครก็ทำได้แล้ว แต่การจะทำให้เนื้อเรื่องสมจริงและนักอ่านอินนั้น พี่น้ำผึ้งคิดว่ามันยากอยู่เหมือนกันนะ เคยอ่านนิยายบางเรื่องมั้ยคะ เป็นเพื่อนกันมาตั้ง 5-6 ปี ไม่มีวี่แววว่าจะชอบกัน แต่อยู่ดีๆ ดันมารักกันเฉย สุดท้ายก็จบลงที่แต่งงานมีลูก เล่นเอานักอ่านอย่างเรางงวนไป ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย...ไปสปาร์ค ไปปิ๊งกันตอนไหนนะ
เอาล่ะค่ะน้องๆ ถ้าไม่อยากให้นักอ่านของเราเกิดอาการงงเป็นไก่ตาแตกแบบเคสนี้ ต้องรีบอ่านบทความนี้เลยจ้า เพราะในวันนี้พี่น้ำผึ้งได้นำ How To พาตัวละครออกจากเฟรนด์โซนภายใน 5 สเต็ปนี้มาฝากค่ะ เหมาะมากสำหรับนักเขียนแนวแอบรักเพื่อนที่ยังไม่มีไอเดียในการดำเนินเรื่อง หรือนักเขียนที่มีไอเดียแล้วแต่ต้องการเพิ่มความแปลกใหม่ให้นิยายของเราดูน่าตื่นเต้นและน่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งนักเขียนที่กำลังมองหาหนทางดันพระรองขึ้นมาเป็นพระเอกเเทน เก๋ไก๋สุดๆ ไปเลย
เฟรนด์โซนคืออะไร?
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก “เฟรนด์โซน (Friend Zone)” โดยเฉพาะคนที่กำลังอยู่ในสถานะแอบรักเพื่อน ส่วนบางคนที่แค่รู้จักแต่ยังไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรค่ะ เพราะพี่น้ำผึ้งกำลังพาน้องๆ มาทำความเข้าใจกับเจ้า “เฟรนด์โซน” แบบเคลียร์ๆ กันไปเลย เพื่อที่ว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่องานเขียนเราในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากยิ่งเราเข้าใจมันมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งหาวิธีพาตัวละครของเราออกจากเฟรนด์โซนได้ง่ายและแนบเนียนมากยิ่งขึ้นค่ะ ชนิดที่ว่านักอ่านยังต้องอึ้ง
เฟรนด์โซนคือสถานการณ์ที่คนหนึ่งรู้สึกกับอีกฝ่ายอย่างลึกซึ้งและต้องการเป็น “มากกว่าเพื่อน” แต่ไม่รู้จะทำยังไงดี พวกเขาเลยทำได้แค่ทำทุกอย่างเพื่อให้เพื่อนคนนั้นมีความสุข บ่อยครั้งและหลายครั้งที่อีกฝ่ายไม่เคยรู้ตัวเลยว่าที่เราทำดีขนาดนี้เพราะอยากเป็นมากกว่าเพื่อนต่างหาก! คนถูกแอบรักมักคิดไปว่านี่เป็นแค่มิตรภาพเฉยๆ ไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น ส่งผลให้คนที่ “ติดอยู่” ใน “เฟรนด์โซน” ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะจากเพื่อนกลายเป็นแฟนได้
ฟังดูน่าหงุดหงิดเนอะ ใช่ค่ะ ตัวละครที่น่ารักของเราก็คงรู้สึกหงุดหงิดสุดๆ เหมือนกันที่ต้องติดแหง็กอยู่ในเฟรนด์โซน (แม้ว่าในตอนท้ายนักเขียนจะให้เขาหนีจากเฟรนด์โซนได้สำเร็จ แต่ระหว่างการดำเนินเรื่องก็คงเป็นที่น่าหงุดหงิดใจแน่นอนอยู่แล้ว) บางครั้งอาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้นด้วย
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
เฟรนด์โซนเกิดขึ้นได้ยังไง?
ในนิยาย สถานะเฟรนด์โซนของตัวละครเกิดขึ้นเพราะนักเขียน “ต้องการ” ให้มันเป็นแบบนั้น แต่ทำไมล่ะ เพราะแค่อยากเขียนนิยายเฉยๆ หรือเปล่า? จริงๆ ก็ใช่นะ แต่อย่างที่บอกไปนั่นแหละค่ะ ถ้าเราเข้าใจคำว่า “เฟรนด์โซน” อย่างถ่องแท้ มันจะช่วยให้การวางพล็อตและการดำเนินเรื่องมีความง่ายและสมจริงมากขึ้น
โดยพื้นฐานแล้วความสัมพันธ์ทั้งหมดบนโลกเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคม นั่นหมายความว่าคนเราได้ตั้งข้อตกลงโดยไม่ต้องปรึกษาหารือกับอีกฝ่ายว่าเราอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหน ง่ายๆ ก็คือคิดเองเออเอง ตกลงกับตัวเองว่าความสัมพันธ์กับคนนี้จะเป็นยังไง ไปในทิศทางไหน และเราจะให้อะไรหรือคาดหวังว่าจะได้อะไรจากคนนี้ จะพูดให้ถูกก็คือทุกความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับการ “ให้” และ “รับ”
เมื่อมีคนติดแหง็กอยู่ในเฟรนด์โซน โปรดรับรู้ไว้ว่าพวกเขากำลังเดินทางเข้าสู่มิตรภาพที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ คนที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซนจะเอาแต่ “ให้” ขณะที่อีกฝ่ายจะ “ได้รับ” ทุกอย่างที่ต้องการ ชาวเฟรนด์โซนจะไม่ได้อะไรกลับมาเลยแม้แต่มิตรภาพที่มากกว่าเพื่อน นักจิตวิทยากล่าวว่าคนที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซนมักเป็นพวกที่ประเมินหรือตีค่าตัวเองต่ำเกินไป พวกเขาจะคอยให้ “เพื่อน (ที่แอบรัก)” ทุกอย่างโดยไม่หวังผลตอบแทน
ยกตัวอย่างเช่น บ็อบและจีจี้เป็นเพื่อนกัน บ็อบให้ทุกอย่างที่จีจี้ต้องการ พาไปเที่ยว ไปรับไปส่ง ซื้อของให้ รับฟังปัญหาของเธอ รวมทั้งช่วยเธอแก้ปัญหา บ็อบอยากเป็นแฟนของจีจี้แต่ไม่เคยบอก และจีจี้ไม่ได้รู้สึกกับบ็อบไปมากกว่าเพื่อนเพราะเธอไม่เคยเอะใจว่าบ็อบต้องการเป็นแฟนของเธอ ซึ่งความสัมพันธ์ของเธอกับบ็อบในสายตาของจีจี้ก็คือ “เพื่อน” เธอยังคงโสด ไม่ผูกมัดกับเขาและยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากบ็อบ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมบ็อบถึงอยู่ในเฟรนด์โซน
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
(via: MySupremacy)
แล้วจะพาตัวละครออกจากเฟรนด์โซนได้ยังไง?
เพื่อที่จะพาตัวละครของเราหนีออกจากเฟรนด์โซนแบบแนบเนียนและสมจริง เราต้องตระหนักก่อนว่าทุกความสัมพันธ์ล้วนเกี่ยวข้องกับ “การต่อรอง” และเราก็ต้องพยายาม “เจรจา” ถึงข้อแลกเปลี่ยนที่กำลังเกิดขึ้น โดยพื้นฐานแล้วถ้าพระเอก (หรือนางเอก นายเอก พระรอง อะไรก็ได้ตามแต่ปรารถนา) ของเราต้องการเป็น “มากกว่า” นั้น มันมีโอกาสมากที่พวกเขาจะให้อีกฝ่ายมากเกินไป ที่เราต้องการก็คือความสมดุลในการให้นั่นเองค่ะ ซึ่งวิธี “ออกจากเฟรนด์โซน” แบบง่ายๆ มีดังนี้
สนใจน้อยๆ หน่อย
นักเขียนบางคนอาจเขียนให้ตัวละครของเราทุ่มเทกับอีกฝ่ายมากๆ ทำนู้นนั่นนี่ให้ ทำดีทุกอย่าง รักมาก รักเหลือเกิน แต่สังเกตไหมว่าสุดท้ายแล้วส่วนมากตัวละครเหล่านี้มักถูกเท เต็มที่ก็เป็นได้แค่พระรอง ไม่ค่อยเห็นพระเอกแสนดีในนิยายสักเท่าไหร่
เพื่อให้ตัวละครแอบรักเพื่อนไม่นก เราต้องให้พวกเขาสนใจอีกฝ่ายน้อยๆ หน่อย อย่าลืมว่าเฟรนด์โซนเป็นความสัมพันธ์ที่ขาดความสมดุลเนื่องจากเราให้ความสำคัญอีกฝ่ายมากกว่าคนอื่น ตัวละครของเราต้องถอยหลัง การทำตัว “เยอะ (Needy)” ไม่ใช่วิธีเจรจาต่อรองที่ดี คนที่สิ้นหวังมักจบลงด้วยการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้ต้องการ
ดังนั้นลองให้ตัวละครของเราทำเป็นเมินเฉยกับคนที่พวกเขาแอบชอบบ้าง เล่นตัวสักหน่อย ไม่ต้องสนใจและพร้อมเดินออกไปจากชีวิตเมื่อไม่ได้ในความสัมพันธ์ที่ต้องการ ซึ่งนี่เป็นเทคนิคเชิงจิตวิทยาของ Waller & Hill ชื่อว่า "Least Interested Principle" ค่ะ เชื่อเถอะว่าคนที่เต็มใจจะเดินออกไปมักเป็นคนที่มีอำนาจในการควบคุมความสัมพันธ์ให้เป็นไปดังที่ต้องการ
ทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ ห่างๆ บ้างก็ดี
พระรองมักจะมีเวลาให้นางเอกของเราเสมอ ตรงข้ามกับพระเอกที่ชอบหายไปและทำให้นางเอกคิดถึง เพราะงั้นการที่พระรองจะข้ามขั้นมาเป็นพระเอกได้นั้น พระรองของเราต้องทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ ใช้เวลากับ “เพื่อน” ที่เขาแอบชอบให้น้อยที่สุด หากอีกฝ่ายรู้สึกชื่นชมเขาจริงๆ มันหมายความว่าการห่างเหินของพระรองทำให้อีกฝ่ายคิดถึงและต้องการเขามากขึ้น
จริงๆ นี่คือจิตวิทยา “หลักการขาดแคลน (Principle of Scarcity)” ที่ดร.โรเบิร์ต เชลดินี นักจิตวิทยากล่าวไว้ ผู้คนจะให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ มากขึ้นเมื่อมันเป็นสิ่งที่หายากหรือเป็นสิ่งที่ถูกพรากไปจากพวกเขา เพราะฉะนั้นจงให้พระรองของเราเมินเฉยกับนางเอกบ่อยๆ เมื่อเขาไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เธอ เธอก็จะรู้สึกถึงความต้องการที่แท้จริงและรู้สึกเหมือนว่ากำลังสูญเสียเขาไป นี่แหละจะเป็นตัวช่วยเพิ่มแรงปรารถนาของพวกเธอ รับรองเลยว่าถ้าเมินบ่อยๆ แบบนี้พระรองของเราได้เลื่อนขั้นเป็นพระเอกในเร็ววันแน่นอน
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
รอนคบกับลาเวนเดอร์เพื่อให้เฮอร์ไมโอนี่หึง
(via: aminoapp.com)
สร้างการแข่งขันสักหน่อย
นอกจากทำเมินเฉยแล้ว ลองให้ตัวละครของเราออกไปหา “เพื่อน” คนอื่นแล้วเฟลิตเล่นๆ ดูบ้าง พูดคุยเกี่ยวกับเพื่อนใหม่ให้อีกฝ่ายฟังบ่อยๆ โอ้โห บอกเลยว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่เด็ดมากเพราะมันทำให้อีกฝ่ายเกิดอาการหึง เผลอๆ อาจเป็นตัวช่วยให้คุณเธอเข้าใจความต้องการที่แท้จริงอีกด้วย! สรุปว่าเราชอบเขานี่ อะไรประมาณนี้ เริดใช่มั้ยล่ะ
ดร.โรเบิร์ต เชลดินีคนเดิมยังกล่าวต่ออีกว่า “การหึงหวง” เป็นอีกวิธีที่ดีของหลักการขาดแคลน เมื่อคนเรารู้ตัวว่าจะเสียอะไรไป เมื่อนั้นเราจะตระหนักถึงคุณค่าของมันอย่างถ่องแท้ คนมักให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าอาจสูญเสีย ดังนั้นจงให้ตัวละครของเรา "ยุ่งวุ่นวาย" กับคนอื่น ถ้าอีกฝ่ายรู้สึกกระตือรือร้นขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย แปลว่าเธอสนใจเขาแล้ว แต่ถ้าไม่เห็นแม้แต่ "ความหึงหวง" ก็เป็นไปได้ว่าเธออาจไม่ต้องการเป็น "มากกว่าเพื่อน" จ้า กรณีนี้ตัวละครแอบรักเพื่อนของเราก็นกวนไป มองหาคนใหม่เถอะ
ลองดูตัวอย่างจากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมสักหน่อย ตอนที่รอนไปคบกับลาเวนเดอร์ บราวน์ แม้จะเป็นการไม่ตั้งใจให้เฮอร์ไมโอนี่หึง แต่เธอก็หึงและเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันทำให้สาวเฮอร์ตระหนักว่าตัวเองรู้สึกกับรอนมากกว่าเพื่อนในที่สุด! เห็นได้ชัดว่าเจ.เค.โรว์ลิ่งได้ใช้เทคนิคนี้เข้ามาช่วย มันเลยทำให้ความสัมพันธ์ของรอนและเฮอร์ไมโอนี่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
ให้อีกฝ่ายทุ่มเทด้วย
นอกจากจะโฟกัสที่ตัวละครแอบรักเพื่อนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือโฟกัสที่ตัวละครถูกแอบรัก สมมุติตัวละครหลักในสถาการณ์นี้เป็นพระรองกับนางเอกละกัน ถ้าเป็นพระรองที่แท้ทรู เขาจะให้ทุกสิ่งที่นางเอกต้องการ แต่ถ้าเป็นพระรองที่ต้องการเลื่อนขั้นเป็นพระเอก นักเขียนควรให้พระรองของเรารู้จักขอให้นางเอกทำสิ่งต่างๆ ให้กับตัวเขาบ้าง รู้หรือเปล่าว่าการทำแบบนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้นางเอกของเราชอบพระรองมากขึ้นนะ!
อาจฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่คิด แต่นี่คือหลักการจิตวิทยา “Ben Franklin Effect” ของ Jecker & Landry ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนจะชอบเรามากขึ้นหากเขาได้ทำอะไรบางอย่างให้กับเรา เผลอๆ ชอบมากกว่าที่เราทุ่มเทให้กับเขาซะอีก! จำเอาไว้ง่ายๆ ยิ่งเขาอุทิศให้กับความสัมพันธ์มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีค่าต่อเขามากขึ้นนะ
เก็บหลักจิตวิทยาข้อนี้ไปใช้ ถ้าอยากให้เรื่องของเราแนบเนียนสมจริง จงให้นางเอกของเราทุ่มเทให้กับคนที่แอบรักเธอบ้าง แค่นี้ความรู้สึกดีๆ ที่มากกว่าเพื่อนก็จะค่อยๆ งอกเงยแล้วจ้า เรียบร้อยเสร็จโรงเรียนพระรองไปอีก
อย่าลืมให้รางวัล
อันนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากสถานการณ์ข้างบนนะคะ หลังจากที่นางเอกทำอะไรบางอย่างให้พระรองแล้ว เป็นเรื่องจำเป็นมากที่เขาต้องขอบคุณและตอบแทนเธอ จำไว้ว่าหลังจากที่เธอดีต่อเขา อย่าลืมดีต่อเธอกลับ การเป็นคนใส่ใจและสำนึกในบุญคุณเป็นพฤติกรรมที่มีเสน่ห์ ใครๆ ก็ชอบคนแบบนี้ มันจะเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครให้มั่นคงมากขึ้นและมีโอกาสขยับออกจากเฟรนด์โซนได้มากขึ้น ลองสังเกตดูดีๆ จากชีวิตจริงก็ได้ เวลามีคนขอบคุณเรา เราก็ยิ่งอยากใกล้ชิดและทำดีกับคนนั้นเรื่อยๆ ใช่มั้ย ในนิยายก็เช่นกันค่ะ อย่าลืมว่านิยายก็เปรียบเสมือนโลกใบหนึ่งนะจ๊ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเรื่องที่พี่หยิบมาฝากในวันนี้ ลองเช็คดูหน่อยว่าตัวละครแอบรักเพื่อนของเรากำลังทำอะไรที่เข้าข่ายข้อต่างๆ เหล่านี้อยู่หรือเปล่า ถ้าหากว่าไม่ ก็อย่าลืมนำไปปรับใช้เพื่อความสมจริงนะคะ จริงอยู่ที่นิยายเป็นเรื่องของจินตนาการล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้านิยายของเราอาจดูฟุ้งบ้างอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมทำให้มันสมจริง จะได้ไม่ดูฟุ้งเกินไป เชื่อเถอะว่ามันจะกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้งานเขียนของเรามีเสน่ห์และน่าติดตามค่ะ
ก่อนจากกัน ขอกระซิบก่อนว่านี่เป็นวิธีที่นักจิตวิทยาคอนเฟิร์มแล้วว่าได้ผลจริง! นั่นเท่ากับว่าหากเรานำไปใช้นิยายของเรา มันก็จะดูสมจริงมากขึ้น แถมนักอ่านบางคนที่แอบรักเพื่อนอาจได้ประโยชน์จากการอ่านนิยายของเราด้วยจ้า ดีต่อใจหลายต่อขนาดนี้ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว
พี่น้ำผึ้ง
www.dek-d.com/writer/49279/
สวัสดีค่ะนักเขียนชาวเด็กดีทุกคน นิยายแนวเพื่อนแอบรักเพื่อนเป็นอะไรที่คลาสสิกตลอดกาล เริ่มต้นจากมิตรภาพแบบเพื่อนก่อนจบลงที่เป็นคนรัก การเขียนนิยายแนวนี้จริงๆ มันก็ง่าย แค่วางพล็อต เซ็ตฉาก กำหนดตัวละครก็ทำได้แล้ว แต่การจะทำให้เนื้อเรื่องสมจริงและนักอ่านอินนั้น พี่น้ำผึ้งคิดว่ามันยากอยู่เหมือนกันนะ เคยอ่านนิยายบางเรื่องมั้ยคะ เป็นเพื่อนกันมาตั้ง 5-6 ปี ไม่มีวี่แววว่าจะชอบกัน แต่อยู่ดีๆ ดันมารักกันเฉย สุดท้ายก็จบลงที่แต่งงานมีลูก เล่นเอานักอ่านอย่างเรางงวนไป ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย...ไปสปาร์ค ไปปิ๊งกันตอนไหนนะ
เอาล่ะค่ะน้องๆ ถ้าไม่อยากให้นักอ่านของเราเกิดอาการงงเป็นไก่ตาแตกแบบเคสนี้ ต้องรีบอ่านบทความนี้เลยจ้า เพราะในวันนี้พี่น้ำผึ้งได้นำ How To พาตัวละครออกจากเฟรนด์โซนภายใน 5 สเต็ปนี้มาฝากค่ะ เหมาะมากสำหรับนักเขียนแนวแอบรักเพื่อนที่ยังไม่มีไอเดียในการดำเนินเรื่อง หรือนักเขียนที่มีไอเดียแล้วแต่ต้องการเพิ่มความแปลกใหม่ให้นิยายของเราดูน่าตื่นเต้นและน่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งนักเขียนที่กำลังมองหาหนทางดันพระรองขึ้นมาเป็นพระเอกเเทน เก๋ไก๋สุดๆ ไปเลย
เฟรนด์โซนคืออะไร?
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก “เฟรนด์โซน (Friend Zone)” โดยเฉพาะคนที่กำลังอยู่ในสถานะแอบรักเพื่อน ส่วนบางคนที่แค่รู้จักแต่ยังไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรค่ะ เพราะพี่น้ำผึ้งกำลังพาน้องๆ มาทำความเข้าใจกับเจ้า “เฟรนด์โซน” แบบเคลียร์ๆ กันไปเลย เพื่อที่ว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่องานเขียนเราในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากยิ่งเราเข้าใจมันมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งหาวิธีพาตัวละครของเราออกจากเฟรนด์โซนได้ง่ายและแนบเนียนมากยิ่งขึ้นค่ะ ชนิดที่ว่านักอ่านยังต้องอึ้ง
เฟรนด์โซนคือสถานการณ์ที่คนหนึ่งรู้สึกกับอีกฝ่ายอย่างลึกซึ้งและต้องการเป็น “มากกว่าเพื่อน” แต่ไม่รู้จะทำยังไงดี พวกเขาเลยทำได้แค่ทำทุกอย่างเพื่อให้เพื่อนคนนั้นมีความสุข บ่อยครั้งและหลายครั้งที่อีกฝ่ายไม่เคยรู้ตัวเลยว่าที่เราทำดีขนาดนี้เพราะอยากเป็นมากกว่าเพื่อนต่างหาก! คนถูกแอบรักมักคิดไปว่านี่เป็นแค่มิตรภาพเฉยๆ ไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น ส่งผลให้คนที่ “ติดอยู่” ใน “เฟรนด์โซน” ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะจากเพื่อนกลายเป็นแฟนได้
ฟังดูน่าหงุดหงิดเนอะ ใช่ค่ะ ตัวละครที่น่ารักของเราก็คงรู้สึกหงุดหงิดสุดๆ เหมือนกันที่ต้องติดแหง็กอยู่ในเฟรนด์โซน (แม้ว่าในตอนท้ายนักเขียนจะให้เขาหนีจากเฟรนด์โซนได้สำเร็จ แต่ระหว่างการดำเนินเรื่องก็คงเป็นที่น่าหงุดหงิดใจแน่นอนอยู่แล้ว) บางครั้งอาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้นด้วย
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
เฟรนด์โซนเกิดขึ้นได้ยังไง?
ในนิยาย สถานะเฟรนด์โซนของตัวละครเกิดขึ้นเพราะนักเขียน “ต้องการ” ให้มันเป็นแบบนั้น แต่ทำไมล่ะ เพราะแค่อยากเขียนนิยายเฉยๆ หรือเปล่า? จริงๆ ก็ใช่นะ แต่อย่างที่บอกไปนั่นแหละค่ะ ถ้าเราเข้าใจคำว่า “เฟรนด์โซน” อย่างถ่องแท้ มันจะช่วยให้การวางพล็อตและการดำเนินเรื่องมีความง่ายและสมจริงมากขึ้น
โดยพื้นฐานแล้วความสัมพันธ์ทั้งหมดบนโลกเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคม นั่นหมายความว่าคนเราได้ตั้งข้อตกลงโดยไม่ต้องปรึกษาหารือกับอีกฝ่ายว่าเราอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหน ง่ายๆ ก็คือคิดเองเออเอง ตกลงกับตัวเองว่าความสัมพันธ์กับคนนี้จะเป็นยังไง ไปในทิศทางไหน และเราจะให้อะไรหรือคาดหวังว่าจะได้อะไรจากคนนี้ จะพูดให้ถูกก็คือทุกความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับการ “ให้” และ “รับ”
เมื่อมีคนติดแหง็กอยู่ในเฟรนด์โซน โปรดรับรู้ไว้ว่าพวกเขากำลังเดินทางเข้าสู่มิตรภาพที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ คนที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซนจะเอาแต่ “ให้” ขณะที่อีกฝ่ายจะ “ได้รับ” ทุกอย่างที่ต้องการ ชาวเฟรนด์โซนจะไม่ได้อะไรกลับมาเลยแม้แต่มิตรภาพที่มากกว่าเพื่อน นักจิตวิทยากล่าวว่าคนที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซนมักเป็นพวกที่ประเมินหรือตีค่าตัวเองต่ำเกินไป พวกเขาจะคอยให้ “เพื่อน (ที่แอบรัก)” ทุกอย่างโดยไม่หวังผลตอบแทน
ยกตัวอย่างเช่น บ็อบและจีจี้เป็นเพื่อนกัน บ็อบให้ทุกอย่างที่จีจี้ต้องการ พาไปเที่ยว ไปรับไปส่ง ซื้อของให้ รับฟังปัญหาของเธอ รวมทั้งช่วยเธอแก้ปัญหา บ็อบอยากเป็นแฟนของจีจี้แต่ไม่เคยบอก และจีจี้ไม่ได้รู้สึกกับบ็อบไปมากกว่าเพื่อนเพราะเธอไม่เคยเอะใจว่าบ็อบต้องการเป็นแฟนของเธอ ซึ่งความสัมพันธ์ของเธอกับบ็อบในสายตาของจีจี้ก็คือ “เพื่อน” เธอยังคงโสด ไม่ผูกมัดกับเขาและยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากบ็อบ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมบ็อบถึงอยู่ในเฟรนด์โซน
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
(via: MySupremacy)
แล้วจะพาตัวละครออกจากเฟรนด์โซนได้ยังไง?
เพื่อที่จะพาตัวละครของเราหนีออกจากเฟรนด์โซนแบบแนบเนียนและสมจริง เราต้องตระหนักก่อนว่าทุกความสัมพันธ์ล้วนเกี่ยวข้องกับ “การต่อรอง” และเราก็ต้องพยายาม “เจรจา” ถึงข้อแลกเปลี่ยนที่กำลังเกิดขึ้น โดยพื้นฐานแล้วถ้าพระเอก (หรือนางเอก นายเอก พระรอง อะไรก็ได้ตามแต่ปรารถนา) ของเราต้องการเป็น “มากกว่า” นั้น มันมีโอกาสมากที่พวกเขาจะให้อีกฝ่ายมากเกินไป ที่เราต้องการก็คือความสมดุลในการให้นั่นเองค่ะ ซึ่งวิธี “ออกจากเฟรนด์โซน” แบบง่ายๆ มีดังนี้
สนใจน้อยๆ หน่อย
นักเขียนบางคนอาจเขียนให้ตัวละครของเราทุ่มเทกับอีกฝ่ายมากๆ ทำนู้นนั่นนี่ให้ ทำดีทุกอย่าง รักมาก รักเหลือเกิน แต่สังเกตไหมว่าสุดท้ายแล้วส่วนมากตัวละครเหล่านี้มักถูกเท เต็มที่ก็เป็นได้แค่พระรอง ไม่ค่อยเห็นพระเอกแสนดีในนิยายสักเท่าไหร่
เพื่อให้ตัวละครแอบรักเพื่อนไม่นก เราต้องให้พวกเขาสนใจอีกฝ่ายน้อยๆ หน่อย อย่าลืมว่าเฟรนด์โซนเป็นความสัมพันธ์ที่ขาดความสมดุลเนื่องจากเราให้ความสำคัญอีกฝ่ายมากกว่าคนอื่น ตัวละครของเราต้องถอยหลัง การทำตัว “เยอะ (Needy)” ไม่ใช่วิธีเจรจาต่อรองที่ดี คนที่สิ้นหวังมักจบลงด้วยการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้ต้องการ
ดังนั้นลองให้ตัวละครของเราทำเป็นเมินเฉยกับคนที่พวกเขาแอบชอบบ้าง เล่นตัวสักหน่อย ไม่ต้องสนใจและพร้อมเดินออกไปจากชีวิตเมื่อไม่ได้ในความสัมพันธ์ที่ต้องการ ซึ่งนี่เป็นเทคนิคเชิงจิตวิทยาของ Waller & Hill ชื่อว่า "Least Interested Principle" ค่ะ เชื่อเถอะว่าคนที่เต็มใจจะเดินออกไปมักเป็นคนที่มีอำนาจในการควบคุมความสัมพันธ์ให้เป็นไปดังที่ต้องการ
ทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ ห่างๆ บ้างก็ดี
พระรองมักจะมีเวลาให้นางเอกของเราเสมอ ตรงข้ามกับพระเอกที่ชอบหายไปและทำให้นางเอกคิดถึง เพราะงั้นการที่พระรองจะข้ามขั้นมาเป็นพระเอกได้นั้น พระรองของเราต้องทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ ใช้เวลากับ “เพื่อน” ที่เขาแอบชอบให้น้อยที่สุด หากอีกฝ่ายรู้สึกชื่นชมเขาจริงๆ มันหมายความว่าการห่างเหินของพระรองทำให้อีกฝ่ายคิดถึงและต้องการเขามากขึ้น
จริงๆ นี่คือจิตวิทยา “หลักการขาดแคลน (Principle of Scarcity)” ที่ดร.โรเบิร์ต เชลดินี นักจิตวิทยากล่าวไว้ ผู้คนจะให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ มากขึ้นเมื่อมันเป็นสิ่งที่หายากหรือเป็นสิ่งที่ถูกพรากไปจากพวกเขา เพราะฉะนั้นจงให้พระรองของเราเมินเฉยกับนางเอกบ่อยๆ เมื่อเขาไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เธอ เธอก็จะรู้สึกถึงความต้องการที่แท้จริงและรู้สึกเหมือนว่ากำลังสูญเสียเขาไป นี่แหละจะเป็นตัวช่วยเพิ่มแรงปรารถนาของพวกเธอ รับรองเลยว่าถ้าเมินบ่อยๆ แบบนี้พระรองของเราได้เลื่อนขั้นเป็นพระเอกในเร็ววันแน่นอน
หยิบหลักจิตวิทยามาใช้ 5 สเต็ปง่ายๆ ช่วยพาตัวละครออกจาก 'เฟรนด์โซน'
รอนคบกับลาเวนเดอร์เพื่อให้เฮอร์ไมโอนี่หึง
(via: aminoapp.com)
สร้างการแข่งขันสักหน่อย
นอกจากทำเมินเฉยแล้ว ลองให้ตัวละครของเราออกไปหา “เพื่อน” คนอื่นแล้วเฟลิตเล่นๆ ดูบ้าง พูดคุยเกี่ยวกับเพื่อนใหม่ให้อีกฝ่ายฟังบ่อยๆ โอ้โห บอกเลยว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่เด็ดมากเพราะมันทำให้อีกฝ่ายเกิดอาการหึง เผลอๆ อาจเป็นตัวช่วยให้คุณเธอเข้าใจความต้องการที่แท้จริงอีกด้วย! สรุปว่าเราชอบเขานี่ อะไรประมาณนี้ เริดใช่มั้ยล่ะ
ดร.โรเบิร์ต เชลดินีคนเดิมยังกล่าวต่ออีกว่า “การหึงหวง” เป็นอีกวิธีที่ดีของหลักการขาดแคลน เมื่อคนเรารู้ตัวว่าจะเสียอะไรไป เมื่อนั้นเราจะตระหนักถึงคุณค่าของมันอย่างถ่องแท้ คนมักให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าอาจสูญเสีย ดังนั้นจงให้ตัวละครของเรา "ยุ่งวุ่นวาย" กับคนอื่น ถ้าอีกฝ่ายรู้สึกกระตือรือร้นขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย แปลว่าเธอสนใจเขาแล้ว แต่ถ้าไม่เห็นแม้แต่ "ความหึงหวง" ก็เป็นไปได้ว่าเธออาจไม่ต้องการเป็น "มากกว่าเพื่อน" จ้า กรณีนี้ตัวละครแอบรักเพื่อนของเราก็นกวนไป มองหาคนใหม่เถอะ
ลองดูตัวอย่างจากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมสักหน่อย ตอนที่รอนไปคบกับลาเวนเดอร์ บราวน์ แม้จะเป็นการไม่ตั้งใจให้เฮอร์ไมโอนี่หึง แต่เธอก็หึงและเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันทำให้สาวเฮอร์ตระหนักว่าตัวเองรู้สึกกับรอนมากกว่าเพื่อนในที่สุด! เห็นได้ชัดว่าเจ.เค.โรว์ลิ่งได้ใช้เทคนิคนี้เข้ามาช่วย มันเลยทำให้ความสัมพันธ์ของรอนและเฮอร์ไมโอนี่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
ให้อีกฝ่ายทุ่มเทด้วย
นอกจากจะโฟกัสที่ตัวละครแอบรักเพื่อนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือโฟกัสที่ตัวละครถูกแอบรัก สมมุติตัวละครหลักในสถาการณ์นี้เป็นพระรองกับนางเอกละกัน ถ้าเป็นพระรองที่แท้ทรู เขาจะให้ทุกสิ่งที่นางเอกต้องการ แต่ถ้าเป็นพระรองที่ต้องการเลื่อนขั้นเป็นพระเอก นักเขียนควรให้พระรองของเรารู้จักขอให้นางเอกทำสิ่งต่างๆ ให้กับตัวเขาบ้าง รู้หรือเปล่าว่าการทำแบบนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้นางเอกของเราชอบพระรองมากขึ้นนะ!
อาจฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่คิด แต่นี่คือหลักการจิตวิทยา “Ben Franklin Effect” ของ Jecker & Landry ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนจะชอบเรามากขึ้นหากเขาได้ทำอะไรบางอย่างให้กับเรา เผลอๆ ชอบมากกว่าที่เราทุ่มเทให้กับเขาซะอีก! จำเอาไว้ง่ายๆ ยิ่งเขาอุทิศให้กับความสัมพันธ์มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีค่าต่อเขามากขึ้นนะ
เก็บหลักจิตวิทยาข้อนี้ไปใช้ ถ้าอยากให้เรื่องของเราแนบเนียนสมจริง จงให้นางเอกของเราทุ่มเทให้กับคนที่แอบรักเธอบ้าง แค่นี้ความรู้สึกดีๆ ที่มากกว่าเพื่อนก็จะค่อยๆ งอกเงยแล้วจ้า เรียบร้อยเสร็จโรงเรียนพระรองไปอีก
อย่าลืมให้รางวัล
อันนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากสถานการณ์ข้างบนนะคะ หลังจากที่นางเอกทำอะไรบางอย่างให้พระรองแล้ว เป็นเรื่องจำเป็นมากที่เขาต้องขอบคุณและตอบแทนเธอ จำไว้ว่าหลังจากที่เธอดีต่อเขา อย่าลืมดีต่อเธอกลับ การเป็นคนใส่ใจและสำนึกในบุญคุณเป็นพฤติกรรมที่มีเสน่ห์ ใครๆ ก็ชอบคนแบบนี้ มันจะเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครให้มั่นคงมากขึ้นและมีโอกาสขยับออกจากเฟรนด์โซนได้มากขึ้น ลองสังเกตดูดีๆ จากชีวิตจริงก็ได้ เวลามีคนขอบคุณเรา เราก็ยิ่งอยากใกล้ชิดและทำดีกับคนนั้นเรื่อยๆ ใช่มั้ย ในนิยายก็เช่นกันค่ะ อย่าลืมว่านิยายก็เปรียบเสมือนโลกใบหนึ่งนะจ๊ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเรื่องที่พี่หยิบมาฝากในวันนี้ ลองเช็คดูหน่อยว่าตัวละครแอบรักเพื่อนของเรากำลังทำอะไรที่เข้าข่ายข้อต่างๆ เหล่านี้อยู่หรือเปล่า ถ้าหากว่าไม่ ก็อย่าลืมนำไปปรับใช้เพื่อความสมจริงนะคะ จริงอยู่ที่นิยายเป็นเรื่องของจินตนาการล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้านิยายของเราอาจดูฟุ้งบ้างอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมทำให้มันสมจริง จะได้ไม่ดูฟุ้งเกินไป เชื่อเถอะว่ามันจะกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้งานเขียนของเรามีเสน่ห์และน่าติดตามค่ะ
ก่อนจากกัน ขอกระซิบก่อนว่านี่เป็นวิธีที่นักจิตวิทยาคอนเฟิร์มแล้วว่าได้ผลจริง! นั่นเท่ากับว่าหากเรานำไปใช้นิยายของเรา มันก็จะดูสมจริงมากขึ้น แถมนักอ่านบางคนที่แอบรักเพื่อนอาจได้ประโยชน์จากการอ่านนิยายของเราด้วยจ้า ดีต่อใจหลายต่อขนาดนี้ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว
พี่น้ำผึ้ง
www.dek-d.com/writer/49279/